High Efficiency Solar Cells For Manufacturers

image

กิจกรรมพัฒนาศักยภาพผู้นำชุมชนท้องถิ่น ออกแบบนโยบายความเท่าเทียมทางเพศ

        ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเพศสภาพเป็นสาเหตุและผลกระทบของปัญหาสังคมหลายปัญหา เช่น ความรุนแรงที่มีต่อผู้หญิง 1 ใน 3 ของผู้หญิงทั่วโลกตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงทางเพศอย่างน้อย 1 ครั้งในช่วงชีวิตหนึ่งของพวกเธอ ผู้หญิงในพื้นที่ชนบทหลายคนยังทำงานที่มีรายได้ต่ำ และจากรายงานสถานการ์ทางสังคมจังหวัดพะเยา ในปี 2565 มีจำนวนประชากรกลุ่มสตรี จำนวน 122,777 คน สถานการณ์กลุ่มสตรี ส่วนใหญ่คือ มีสตรีที่ถูกเลิกจ้าง หรือตกงาน จำนวน 2,321 คน คิดเป็นร้อยละ 1.89 รองลงมาคือ ปัญหาสตรีหม้ายเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยวฐานะยากจนที่ต้องเลี้ยงดูบุตรเพียงลำพัง จำนวน 801 คน คิดเป็นร้อยละ 0.65 ส่วนปัญหาสตรีที่ถูกทำร้ายร่างกายและจิตใจ จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 0.006 และสตรีที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศจำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 0.002
 
        จึงเป็นที่มาของความร่วมมือระหว่าง มหาวิทยาลัยพะเยา กับโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme : UNDP) ห้องปฏิบัติการนโยบายประเทศไทย (Thailand Policy Lab) และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย ในการจัดกิจกรรม "การพัฒนาศักยภาพผู้นำชุมชนท้องถิ่นเพื่อออกแบบนโยบายความเท่าเทียมทางเพศ" ที่มหาวิทยาลัยและหน่วยงานความร่วมมือเห็นช่องว่างทางเพศสภาพขนาดใหญ่ ในเรื่องของการเข้าถึงโอกาสในการตัดสินใจและการเป็นผู้นำของผู้หญิงและผู้มีความหลากหลายทางเพศ สิ่งเหล่านี้นำมาสู่ปัญหาอีกมากมายทั้งในระดับชุมชน ท้องถิ่น และประเทศ กิจกรรมดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเท่าเทียมทางเพศ เสริมพลังทางสังคมแก่ผู้หญิงและเด็กหญิง (Achieve gender equality and empower all women and girls) ตลอดจนสร้างการรับรู้และการปฏิบัติที่เท่าเทียม เพื่อยุติการเลือกปฏิบัติทุกรูปแบบที่มีต่อเด็กและผู้หญิง ตลอดจนหาแนวทางความร่วมมือ การประชุมแผนงานและการสร้างความร่วมมือการทำงาน
 
        มหาวิทยาลัยเล็งเห็นว่าปัญหาเหล่านี้สามารถได้รับการแก้ไขได้ด้วยการประสานความร่วมมือและการพัฒนาเชิงพื้นที่ในชุมชนท้องถิ่น โดยหากเริ่มจากชุมชนท้องถิ่นจะได้ดำเนินงานเพื่อบรรเทาและป้องกันปัญหาเหล่านี้ในวิถีที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ในการแก้ปัญหานี้ต่อไป ตลอดจนพัฒนาเป็นนโยบายและกฎหมายระดับชาติก็ได้รับการออกแบบ และกำหนดเพื่อพัฒนาความเท่าเทียมทางเพศต่อไปได้ จึงได้มีการประสานความร่วมมือไปยังองค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา ดำเนินกิจกรรมการพัฒนาศักยภาพผู้นำชุมชนท้องถิ่นเพื่อออกแบบนโยบายความเท่าเทียมทางเพศผ่านการทำกิจกรรม Workshop สำหรับการทดลองออกแบบนโยบายความเท่าเทียมทางเพศ ซึ่งไม่ได้เป็นเพียงการอบรมเชิงปฏิบัติการแต่ยังเป็นกระบวนการนโยบายสาธารณะเชิงนวัตกรรม ที่จะได้เรียนรู้อย่างประสบความสำเร็จ ออกแบบ และทดลองไอเดียของนวัตกรรมเชิงนโยบายเพื่อความเท่าเทียมทางเพศต่อไป
 
        นอกจากนี้ นักวิจัยจากคณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ ดำเนินงานโครงการวิจัย “การสร้างสรรค์นวัตกรรมเชิงนโยบายสำหรับผู้หญิง เยาวชน และสวัสดิการสังคมเฉพาะบุคคล (Creating Policy Innovation for Women, Youths and Personalized Social Welfare)”ร่วมกับ ห้องปฏิบัติการนโยบายประเทศไทย (Thailand Policy Lab) ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและทดสอบกระบวนการออกแบบนโยบายสาธารณะที่ผสมผสานระหว่างการปรึกษาหารือกับนวัตกรรมดิจิทัลและเพื่อพัฒนานวัตกรรมเชิงนโยบายด้านสวัสดิการสังคมที่ไม่เพียงตอบโจทย์ของแต่ละบุคคล แต่ยังนำไปสู่การออกแบบนโยบายสวัสดิการสังคมในท้องถิ่นร่วมกันได้

Loading....Please Wait

loader

...กรุณารอสักครู่.